มุมน้ำเงิน (สหรัฐอเมริกา)
We Don’t Have Much More Than 10 Years
US President . Joe Biden
สถาณการณ์โลกร้อนตอนนี้มาถึงจุดวิกฤติ เรามีเวลาอีกอย่างมากไม่เกิน 10ปี ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเด็นให้สัมภาษณ์เมื่อไม่กี่วันที่ผ้านมา เขากล่าวระหว่างเข้าเยี่ยม California’s Office of Emergency Services
เขาย้ำว่าปัญหาโลกร้อน ความแห้งแล้ง และไฟป่าที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆในสหรัฐ ทำอันตรายต่อทั้งชีวิตทรัพย์สิน และสร้างเสียหายมหาศาลประเมินค่าไม่ได้ ทางเศรฐกิจ ล้วนเกิดจากปัญหาสะสมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และเขายืนยันเจตนารมณ์ตามที่เขาเคยให้ไว้ตอนเข้ารับตำแหน่ง ว่าจะสนับสนุนการแก้ปัญหาเรื่องนี้จริงจัง ล่าสุดเขาเตรียมเสนอขออนุมัติเงินช่วยเหลือจากรัฐสภา (ซึ่งก็คงไม่ได้จะทำได้โดยง่าย เพราะมีผู้เห็นต่างมากพอสมควร) ในวงเงินมูลกว่าสูงกว่า $11.4 billion เพื่อนำไปช่วยประเทศกำลังพัฒนา ให้สามารถเข้าร่วมและบรรลุมาตราการลดโลกร้อนด้วยเช่นกัน และจะเป็นผู้นำเร่งรัดให้พวกประเทศที่รำ่รวยกว่าร่วมสนับสนุนเงินให้ครบ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามสัญญาที่ให้ไว้ใน Paris Agreement ที่ตั้งเป้าหมายร่วมกันไม่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกไปมากกว่าที่สามารถกำจัดได้ NET ZERO ในปี 2050 เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้สูงขึ้น 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส
มุมแดง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
China will step up support for other developing countries in developing green and low-carbon energy, and will not build new coal-fired power projects abroad,
Chinese President Xi Jinping
ถัดมาเพียง 1 วัน Chinese President Xi Jinping’s ออกมาให้สัภาษณ์ว่า จีนจะหยุดสร้างโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องพึ่งพาถ่านหิน ส่วนโรงงานที่มีมาก่อนหน้า จีน (เป็นผู้ใช้พลังงานถ่านหิน ขับเคลื่อนหลัก) ก็จะค่อยลดลงการพึ่งพิงถ่านหิน และหันมาทุ่มเทการวิจัยและใช้พลังงานทางเลือกทดแทน อย่างโครงการหลายแห่งในอินโดนีเซีย และบังคลาเทศ ก็คงต้องยกเลิกไป เพราะทรัพยากรในนั้น มีถ่านหินเป็นหลัก
เจ้าหน้าที่ระดับสูงจีน ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันประเทศจีนมีอุตสาหกรรมเพียง 20% และส่วนใหญ่อยู่นอกประเทศจีน ที่ใช้พลังจากถ่านหินเป็นหลัก ซึ่งการที่ทางประธานาธิบดี Xi ให้นโยบายหยุดสร้างเพิ่ม โดยยอมให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจถูกกระทบ อันเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของจีน โดยเขามองว่าจีนจะไปถึงจุดพีค (Peak) ของสร้างก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 แล้วจะค่อยๆลดต่ำลง
แต่จีนก็ยังเป็นจีน ไม่ยอมเล่นตามเกมส์ทางตะวันตกเสียทีเดียว โดยทางจีนยืนยันว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายได้สำเร็จแน่นอน อย่างที่จีนรับรอง จนถึงจุดศูนย์ NET ZERO ภายในปี 2060 (หรือ สิบ(10)ปีให้หลังจากที่ UN กำหนด .
การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC)
ปี2015 หรือ 5 ปีก่อนสหประชาชาติมีมติร่วมกับนนาชาติเพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 45%ภายในปี 2030 ซึ่งก็จะทำให้โลกของเราถึงจุดสมดุลที่และมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นสุทธิ เป็นศูนย์ (0) หรือ Net Zero ภายในปี 2050 โดยพลเมืองโลกต่างหันมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก และสภาวะโลกร้อนที่พวกเราประสบพบเจอตลอดหลายปีจะค่อยๆบรรเทาและก็คลี่คลายลง
มิถุนายน 2021 ในที่ประชุมที่ Brussel เลขายูเอ็นนาย อันโตนิโอ กูเทียเร ออกมาให้ข้อมูลว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส ตามเป้าที่ตั้งไว้ในข้อตกลงปารีส โดยย้ำว่าเวลาของเราก็ใกล้จะหมดลงแล้ว ที่จะสามารถทำอะไรเพื่อกอบกู้สถานการณ์
ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (กันยายน 2021) จากรายงานล่าสุดจากที่ UN General Assembly พบว่ายังมีประเทศอีก 30% ที่ไม่ยอมแม้กระทั่งส่งเป้าหมาย NDC (National Determined Contributions) หรือ’การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด’ ในการทำให้โลกเรามีก๊าซเรือนกระจกสุทธิเพิ่มเป็นศูนย์(0) ในปี 2050 ซึ่งตัวเลขการมีส่วนร่วมนี้สำคัญมาก เพราะเราจะได้มีมาตรวัดเพื่อเปรียบเทียบความพยายามของแต่ละประเทศ และผลลัพธ์ความสำเร็จ หรือปัญหาที่พวกเราต้องช่วยเข้าไปดูหรือช่วยเหลือ อย่างเช่นจีน และอินเดีย ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลก ที่ดูยังมีปัญหา โดยมีปัจจัยของความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนเศรฐกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เลยใช้ในรูปของ coal พลังถ่านหิน
เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC)
ในวาระที่โลกเรากำลังจะจัดประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของยูเอ็น COP26 ในพฤศจิกายนที่กำลังจะมาถึง UN ได้ทำบทวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวเลขของ 191 ประเทศ ที่ส่งการบ้าน NDCหรือ ‘เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ’ เข้ามา NDC (National Determined Contributions) หรือ’การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด’ ที่แต่ละประเทศ/รัฐที่ลงนามรับรอง และสรุปภาพเบื้องต้นให้ดูเพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังความจริง เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซที่ประเมินว่าจะต้องลดให้ได้ 45%ในปี 2030 กลับเพิ่มขึ้นถึง16% เมื่อนำมาเทียบกับปี 2010
เราสามารถเห็นได้ชัดเจนจากช่องว่างของเส้นกราฟที่วิ่งห่างออกจากกัน และยังพุ่งสูงชัน ห่างไกลจากเป้าหมายยาวไปถึงปี 2060
ถ้ามาดูคะแนน NDC รายประเทศ ส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามคาด อย่างไทยแลนด์แดนสยามของเรา เรื่องนี้เราก็รับ F (Critically Insufficient) ตกชั้นไปตามฟอร์ม แต่มีเซอร์ไพรส์อย่าง ที่มีสิงคโปร์สอบตกเป็นเพื่อนด้วย + + + + + โดยมีประเทศจีน อินเดีย ตัวกลั่นแห่งวงการสร้างก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งประเทศอย่าง Australia, New Zealand, Canada, South America, UAE และ เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย ทำดีกว่าเล็กน้อย ได้เกรด D (Highly Insufficient) กันไป + + + + + แต่ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เยอรมันนี และญี่ปุ่น ก็ล้วนแต่อยู่ในข่ายทำได้ไม่ดีนัก พอผ่านไปรับเกรด C (Insufficient) ได้แค่นั้น
หมายเหตุ
วาระสำคัญ COP26 – UN Climate Change Conference) การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศชองยูเอ็นครั้งที่ 26 ที่จะมีขึ้นในเดือนพศจิกายนนี้ ได้แก่
- หยุดใช้พลังงานถ่านหิน
- หยุดตัดไม้ทำลายป่า
- เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า
- ลงทุนในการผลิตพลังงานหมุนเวียน
โดยมีประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือ การติดตามให้ประเทศที่ร่ำรวยให้สนับสนุนเงินแสนล้านดอลล่าห์สหรัฐ (USD 100,000,000.-) เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาสามารถปรับตัวเพื่อมีส่วนร่วม และร่วมกันบรรลุเป้าหมาย NET ZERO ร่วมกัน
แล้วเรามาติดตามกันครับว่า ผลลัพธ์ของการประชุมจะเป็นอย่างไร ?
แหล่งข้อมูล
NewYorkTimes
GlobalTimes
S&P Global Intelligence
BBC news
UN Climate Change
ติดตามสาระ GREENTIPS ไอเดียหลากหลายที่ 〜
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
Line: @BIO100
IG: instagram.com/bio100plus