โลกแห่งจินตนาการของมนุษย์มันไร้ขีดจำกัดจริงๆ ศิลปินชาวอเมริกัน Philip Ross ช่างแกะสลัก นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง MycoWorks ผู้นำนวัตกรรมทางชีวภาพมาผสมผสานกับงานศิลป BIO-ART ได้เปิดโลกในอีกมุมหนึ่งที่เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึง หรือจินตนาการออกมาได้
เขาสร้างสรรงานศิลปจาก เห็ด (Mushroom) พืชชั้นต่ำสกุล Fungi จากความช่างสังเกตุและการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจวงจรชีวิตของเห็ด เขาได้พบความอัศจรรย์ของธรรมชาติของพืชตระกูลเห็ดรา กระบวนการก่อตัวเจริญเติบโตสร้างเส้นใย ขยายพันธ์และเพิ่มมวลของตัวมัน รวมทั้งความยึดหยุ่นสูง การฟอร์มตัวสร้างรูปทรงได้ไร้ขอบเขต แถมยังทานทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่
จากจุดเริ่มต้นฟิลลิปใช้เวลาอีกเป็นหลายปี ศึกษาต่อยอดเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องศาสตร์ของเห็ดรา Mycology ผนวกกับความอัจริยะทางด้านดีไซน์ และงานสถาปัต Architectural Design ในที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปมันก็ลงตัวออกมาเป็น “MycoWorks” นิยามที่เขาใช้เรียกผลงานการรวมศาสตร์ของ Mycology กับศิลปกรรม สร้างสรรออกมาเป็น Architectural Innovation & Design อันลงตัว
เห็ด (Mushroom) คือ ชีวอินทรีย์ (Living Micro-organism) จัดอยู่ในอาณาจักรฟันไจ (Fungi Kingdom) ซึ่งก็ที่จริงมันก็คือ เชื้อรา ชนิดหนึ่ง เป็นพืชชั้นต่ำตระกูลเดียวกัน ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ต้องใช้จุลินทรีย์เป็นตัวช่วยย่อยสลายอินทรีย์สารที่อยู่รอบตัวมันมาเพื่อใช้เป็นอาหาร แต่อาจมีวิวัฒนาการขั้นสูงกว่า มันสามารพัฒนาเป็นดอก และออกผล มาเป็นกลุ่มก้อน มีมวลมากพอที่ให้เราเห็นด้วยตาเปล่า หลายชนิดนำมาบริโภคได้ แต่หลายชนิดก็มีพิษร้ายแรง ถ้าบริโภคเข้าไปอาจเป็นอัตรายถึงแก่ชีวิต เห็ดราที่เราคุ้นเคยกันดีก็คงเป็นเห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง เป็นต้น
Mycology the study of fungi, a group that includes the mushrooms and yeasts. Many fungi are useful in medicine and industry. Mycological research has led to the development of such antibiotic drugs as penicillin, streptomycin, and tetracycline, as well as other drugs, including statins (cholesterol-lowering drugs). Mycology also has important applications in the dairy, wine, and baking industries and in the production of dyes and inks. Medical mycology is the study of fungus organisms that cause disease in humans.
จุดเริ่มต้น
ฟิลิปศิลปินที่มีดีกรีจบ ด้านศิลปศาสตร์ จาก San Francisco Art Institute และก็ทำงานในแวดวงศิลปได้เปิดตัวงานออกแบบที่น่าขนลุก แต่ก็สร้างชื่อให้เขาเป็นที่รู้จัก เขาสร้างสรรชิ้นงาน เลียนแบบ ซากเครื่องบิน PANAM Flight103 ที่ถูกยิงตกที่ Lokerbie, Scotland ด้วยเศษวัสดุเก่า เศษของเหลือใช้และที่ถูกทิ้ง เพื่อนำมันมาออกแสดงในนิทรรศการ
ชิ้นงานของเขาที่อาจดูธรรมดาแต่กลับไม่ธรรมดา เพราะเขาได้เติมสปอร์ของเห็ดเป๋าฮื้อลงไป พร้อมด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อจำนวนหนึ่ง ผลลัพธ์ที่ได้ก็คืองานแสดงที่มีชีวิต ตลอดระยะเวลา 5 สัปดาห์ของนิทรรศการ ผู้เข้าชมต่างได้เห็น ตัวงานแสดงค่อยๆเปลี่ยนรูปลักษณ์ และรูปทรง จากการที่เห็ดขยายพันธ์ กิน หรือก็คือย่อยสลาย ซากเครื่องบินจำลอง ออกดอกเห็ด ขยายสปอร์ ขยายตัวกินพื้นที่เพิ่มไปทีละเล็กละน้อย จนชิ้นงานเดิมเปลี่ยนโฉมโดยสิ้น (เหตุการณ์ที่ปกติ มันก็ดำเนินตามครรลองของธรรมชาติอยู่แล้ว)
mycoworks
แต่งานที่ทำให้โลกรู้จักศิลปินผู้นี้ ก็คงเป็นตอนที่เขานำผลงานที่เกิดจาก Mycotectural Alpha ก้อนอิฐที่พัฒนาจากเชื้อราที่เขาค้นพบ ออกแสดงในงานศิลปะที่พิพิธสถาน Düsseldorf ในเยอรมันนี
เรือนรับรองหลังจิ๋ว Teahouse ขนาด ราว 2×2 เมตร ที่สร้างขึ้นมาเปิดให้คนเข้าชมสัมผัสทดสอบ และก็เข้าไปนั่งชมด้านในได้ ละไฮไลท์ของมัน คือเขาให้คนเข้าไปนั่งจิบชา ชาที่ชงมาจากก้อน(เห็ด)อิฐ วัสดุตัวเดียวกับที่เขากำลังนั่งอยู่ภายใต้หลังคาของมัน
อิฐของฟิลิปเกิดจากการนำสปอร์ของเห็ดราชนิดนึง ใส่เข้าไปในแม่พิมพ์ที่อัดด้วยขี้เลื่อยที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยการพาสเจอไรซ์ โดยเมื่อเห็ดราย่อยสลายขี้เลื่อยไปเป็นอาหาร สร้างพลังงานและเติบโดขยายตัวในแม่พิมพ์ที่เขาจัดเตรียมขึ้นมา จนได้โครงข่ายเนื้อเยื่อ (หรือ mycelium) ขยายตัวอัดแน่นเต็มแม่พิมพ์ ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ชิ้นงานที่ได้ออกมาเป็นอิฐมวลเบา ที่มีความแข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร้อนหนาวรุรแรง เป็นฉนวนชั้นดี
mycotecture
มันเป็นนวัตกรรมทางด้านวัสดุทางเลือก ของอุตสาหกรรมก่อสร้างโลกในอนาคตเลยก็ว่าได้ ความยืดหยุ่นของประโยชน์ใช้สอย ความแข็งแรง ที่แกร่งกว่าคอนกรีต (วัดสุทนทานถึงขนาดกระสุนปืนขนาด 0.38 ไม่สามารถยิงทะลุผ่านอออกมาได้) กันน้ำได้และไม่ลามไฟ แถมยังมีความเป็นฉนวน ตัววัสดุไม่ขึ้นรา(ถ้าไม่คิดว่าตัวมันก็ทำมาจากเชื้อรา 😀) และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์สัตว์ และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม … มันเป็นวัสดุรักษ์โลกโดยแท้ ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ นอกจากในวงการก่อสร้างแล้ว ยังมีโอกาสนำวัสดุตัวนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลากหลาย
art งานศิลปร่วมสมัย .. ล้ำสมัย
ในที่สุด เขาก็พัฒนาการใช้งานให้เข้าใกล้ตัวมากขึ้น mycelium ได้ถูกพัฒนาต่อยอดไป ทักทอเป็นแผ่นหนังให้ความรู้สึกและผิวสัมผัสเหมือนหนังวัวชั้นดี รอยย่นของผิวหนังที่แตกต่างกันไป ไม่เท่ากัน ไม่สม่ำเสมอ เหมือนธรรมชาติของหนังสัตว์แท้ไม่ผิดเพี้ยน
และจุดสูงสุดก็ที่ล่าสุดทาง Hermès ให้ความสนใจนำไปทำเป็นกระเป๋า Victoria Bag ใช้วัสดุใหม่ในชื่อว่า Sylvania เป็นการผสมผสานวัสดุธรรมชาติกับไบโอ-วิศวกรรมโดยนำแผ่นหนัง Mycelium เป็นส่วนประกอบหลัก ได้กระเป๋าใบสวยงามสง่า สมกับการเป็นวัสดุ BIO-INNOVATION อย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
AltaOnline.com
Vice.com
Britanica.com
MYCOWORKS
ติดตาม GreenTips ได้ทุกช่องทาง
🌐 : greentips.net
Facebook: Bio100Percent
Line: @BIO100
IG: instagram.com/bio100plus