เอลนีโญ (El Niño) สร้างสถิติปีแห่งความแห้งแล้ง

เอลนีโญ (El Niño) เริ่มต้นวิกฤติภัยแล้งหนัก

ช่วงที่ผ่านมานี้ “ประเทศไทยเจอกับลานีญาติดต่อกัน 3 ปี” ทำให้ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติต่อเนื่องมาจนถึงเดือน ก.พ. 2566 “สภาพอากาศเข้าสู่เส้นศูนย์สูตรเป็นค่าปกติ” ปริมาณฝนกลับมามีค่าเฉลี่ยปกติ หรือฝนตก น้อยกว่าปีที่แล้ว “แต่ก็ยังไม่เจอภัยแล้งที่น่ากังวลนัก” เพราะด้วยเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านลานีญา La Niña เข้าสู่เป็นเอลนีโญ

รู้จักกับ Rainforest Alliance Certified

รู้จักกับ Rainforest Alliance Certified

สัญลักษณ์ Rainforest Alliance หมายถึงส่งเสริมการดำเนินการร่วมกันเพื่อผู้คนและธรรมชาติซึ่งขยายต่อยอดและตอกย้ำผลกระทบที่เป็นประโยชน์ของการเลือกอย่างรับผิดชอบ ตั้งแต่ฟาร์มและป่าไม้ไปจนถึงสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต

ทำไร่ทำนา + ปลูกป่าผสม = วนเกษตร

ทำไร่ทำนา + ปลูกป่าผสม = วนเกษตร

ระบบ วนเกษตร หรือ Agro-Forestry เป็นศาสตร์ของการจัดการทรัพยากรในพื้นที่เพาะปลูก (Land resouce managemeng) อย่างเป็นระบบ โดยผสมผสาน การทำป่าไม้ (Forestry) การเพาะปลูกพืช (Agriculture) การทำปศุสัตว์ …. นอกจากจะเป็นแนวทาง ในการทำเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ตามนิยามข้างต้นแล้ว วนเกษตร ยังรวมถึงทำป่าไม้ผสมผสานร่วมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ในบริเวณชายขอบ

กรีนไฮโดรเจน(2)

กรีนไฮโดรเจน(2)

กรีนโฮโดรเจน เป็นพลังสะอาด ?
ความจริงไฮโดรเจนเป็นพลังงานที่สะอาดโดยพื้นฐาน เราสามารถผลิตได้จากการนำน้ำ Water (H2O) มาทำปฎิกิริยา electrolyte เพื่อแยกโมเลกุลของน้ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของไฮโจรเจน (H) และอะตอมของอ็อกซิเจน (O) ออกจากกัน

ที่สำคัญ ก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen) ขณะที่ถูกนำไปใช้มีการเผาไหม้สมบูรณ์ ให้กำเนิดไอน้ำ (H2O) โดยไม่ก่อให้เกิดก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซพิษอื่นๆ เหมือนเชื้อเพลิงประภทให้พลังงานสูงอื่นๆ อย่างก๊าซธรรมชาติ ฟอสซิล หรือถ่านหิน

กรีนไฮโดรเจน พลัง(สะอาด)อนาคต

กรีนไฮโดรเจน พลัง(สะอาด)อนาคต

ระยะหลังเวลาเราพูดถึงพลังสะอาดกัน เราก็มักคิดถึงพลังแสงอาทิตย์ (Solar Energy) และพลังลม (Wind Energy) แตีมีอีกตัวที่ขณะนี้ยังไม่ได้เป็นกระแสหลัก แต่ก็มีการวิจัยและพัฒนากันมาตลอดเวลา Hydrogen Gas Hydrogen ไฮโดรเจนเป็นธาตุพื้นฐานที่น่าจะมีมากที่สุดในโลกแล้ว อย่างน้อยก็บนผืนพิภพ เพราะมันเป้นส่วนประกอบของน้ำ (H2O) ที่โดยในหนึ่ง (1) โมเลกุลของน้ำจะประกอบไปด้วย 1 อะตอมของ (O) อ็อกซิเจนและ 2 อะตอมของ (H) ไฮโดรเจน และเรามีน้ำอยู่ปกคลุมกว่า 71% ของพื้นผิวโลก ที่สำคัญ ไฮโดนเจนเป็นพลังงานทางเลือกที่เหมาะมากกับการใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้พลังงานมาก และเหมาะมากกับการใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์หรือพาหนะขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบินหรือเรือเดินสมุทร ปัจจุบันมีการสร้างโรงงานผลิตกรีนไฮโดรเจน”สีเขียว” (Green Hydrogen) โดยเฉพาะในรูปของแแก็ซในที่ต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่สหรัฐอเมริกา

สาหร่าย(อาหารและพลังสะอาด)จากทะเล

สาหร่าย(อาหารและพลังสะอาด)จากทะเล

📍 สาหร่าย (Algae) ดูจะเป็นพืชเศรฐกิจตัวใหม่ ใหญ่มากจนตอนนี้ประเทศออสเตรเลีย นำโดย Marine Bioproducts Cooperative Research Centre (MB-CRC) จับมือกับหน่วยงานวิจัย 11 แห่ง 3 มลรัฐ และอีกหลายสิบองค์กรเอกชน ระดมทุนกว่า $270 ล้าน

ประเมินกันว่าสาหร่ายทะเลที่มีอยู่ในโลกเป็นแหล่งผลิดอ๊อกซิเจน Oxygen มากถึง 50% ของปริมาณทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโลกทีเดียว และมันยังเป็นตัวกักเก็บก็าซ Carbon Dioxide สำคัญ จากการที่สาหร่าย ใช้ก๊าซ CO2 โดยเฉลี่ย 2 ส่วนเพื่อไปสร้างชีวมวลของตัวมัน 1 ส่วน …. มีประสิทธิภาพในการดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์สูงโดยสามารถดึงพลังงานโซล่าจากแสงแดดได้ถึง 9-10% ☀️

จุลินทรีย์ MYCO-101

Basic Microbiology ประเภทของจุลินทรีย์

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว (Unicellular) หรือหลายเซล์ (Multicellular) แต่ทว่าเซลล์เหล่านั้นต่างก็เป็นเซลล์ชนิดเดียวกันและมีรูปร่างเหมือนกัน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะเหมือนในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง จุลินทรีย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆตามประเภทของเซลล์ คือ โปรคารีโอต คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น แบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ยูคารีโอต คือ มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เช่น เชื้อรา โปรโตซัว และสาหร่ายต่างๆ ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ประเภทของจุลินทรีย์ แบคทีเรีย (Bacteria) เชื้อรา (Fungi) โปรโตซัว (Protozoa) สาหร่าย (Algae) ไวรัส (Virus) มาทำความรู้จักกับจุลินทรีย์แต่ละประเภทกัน แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงส่องดูจึงมองเห็นประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว และเป็นพวกโปรคารีโอต

วิดีโอแสดงการดูดน้ำของโพลีเมอร์สารอุ้มน้ำ

วิดีโอแสดงการดูดน้ำของโพลีเมอร์สารอุ้มน้ำ

จาก video จะเห็นว่าก้อนโพลิเมอร์ขยายตัวได้ ด้วยการดูดน้ำเข้าไปเก็บในโมเลกุลของตัวเอง และเพิ่มปริมาตรของ “เจลอุ้มน้ำ – hydrogel” จะมันเข้าไปทดแทนที่ “น้ำ water” โดยสามารถเพิ่มปริมาตร หรือ กักเก็บน้ำ ไว้ได้มากถึง 200-300 เท่าของน้ำหนักตัว

ขั้นตอนการใช้สารอุ้มน้ำ

ขุดหลุม ขนาดพอเหมาะ ความลึกเพียงพอในการฝังกลบ ใส่ โพลิเมอร์ที่แช่น้ำแล้ว 1- 5 ลิตรต่อหลุมฝังกลบให้มิด …….. ไม่ให้แสงแดดโดน เนื่องจาก รังษียูวีจากแสงอาทิตย์ทำให้ โพลิเมอร์เสื่อมเร็วขึ้น

สารอุ้มน้ำ 1 ช้อนโต๊ะ ช่วยอุ้มน้ำได้ > 1 ลิตร

สารอุ้มน้ำ Bio100H2Oใช้เพียง 1 ช้อนโต๊ะใส่ต้นไม้ 1 ต้น เมื่อสัมผัสกับน้ำจะสามารถขยายตัวได้มากกว่า 200 เท่า เปรียบเสมือนบ่อกักเก็บน้ำใต้ดิน